Monday, August 23, 2010

อยากเป็นนักแปลเอกสาร (ที่ดี) ทำอย่างไร ตอนที่ 2

ที่มา ศูนย์แปลเอกสาร kingtranslations

ประการที่ 1 พรแสวงมาก่อนพรสวรรค์

ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่กำเนิด และก็ไม่มีใครที่เก่งโดยไม่ต้องฝึกฝนเลย ในวงการรับแปลเอกสาร หรือทุกๆวงการ หากคุณต้องการประสบความสำเร็จ แล้วละก็ต้องอาศัย การฝึกฝนอย่างหนักหน่วงด้วยกันทั้งนั้นไม่มีใครปฏิเสธว่า มาราโดนา เป็นยอดนักฟุตบอลพรสวรรค์ของโลก แต่ผมเชื่อว่า หากเขาไม่ฝึกซ้อม อยู่ตลอดแล้วล่ะก็เขาก็ไม่สามารถรักษาความฟิต ได้ตลอดไป

หรือหากคุณเป็นนักดูบอลตัวยงแล้ว ก็น่าจะสังเกตได้ว่า เดวิด เบคแคมไม่ได้เป็นนักฟุตบอล พรสวรรค์เลอเลิศ แต่อย่างใด แต่เขากลับสามารถประสบความสำเร็จได้ ก็ด้วยการฝึกฝนด้วยใจรักอย่างหนักหน่วงนั่นเองอย่าคิดว่าตัวคุณไม่เก่ง หรือไม่มีพรสวรรค์ หากคิดอยากเป็นนักแปลเอกสาร แล้วจงเดินหน้าใฝ่หาความรู้ อย่าย่อท้อ การฝึกฝนเท่านั้น ที่จะทำให้คุณเก่ง เหนือคนอื่นแล้วมาต่อ ตอนต่อไปนะครับ กับเคล็ดลับการเป็นนักแปลเอกสารที่ดีครับ

Credit: ศูนย์รับแปล Kingtranslations

Tuesday, August 17, 2010

อยากเป็นนักแปลเอกสาร (ที่ดี) ทำอย่างไร ตอนที่ 1

ที่มา ศูนย์แปลเอกสาร kingtranslations

อยากเป็นนักแปลเอกสาร (ที่ดี) ทำอย่างไร ตอนที่ 1
เห็นใครๆ ก็อยากจะเป็นนักแปลเอกสารกันนะครับ ดูจากปริมาณนักแปล และนักอยากแปล ที่สมัครเข้ามากับศูนย์การแปล Kingtranslations แล้ว หากรับทุกคน นี่เราคงมีพนักงานสูสีกับ Seven Eleven ไปแล้ว แต่เอาเข้าจริง พี่น้องที่ผ่านระบบคัดกรองของเรามีน้อย จนถึงน้อยที่สุด ส่วนมากจะเน้นไปทางนักอยากแปลมากกว่า

ก่อนจะอรรถาธิบายความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับหนทางการเป็นนักแปลที่ดี อยากจะอธิบายคำสองคำ คือ "ระบบคัดกรอง" และ "นักอยากแปล" ในมุมมองของ Kingtranslations สักเล็กน้อยครับ

เวลาเราคัดนักแปลที่จะมาร่วมงานกับศูนย์แปลเอกสาร Kingtranslations นั้น ผมเน้นเสมอว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ฝีมือ และไม่ใช่การยอมรับกับราคาที่ถูกเหลือเชื่อ แต่เป็น"ความรับผิดชอบ" คนไม่เก่งที่มุ่งมั่น และมีความรับผิดชอบสูง มีทัศนคติที่ดีและเคารพต่อสายอาชีพนี้ ไม่คิดแต่ว่า เหนื่อย หนัก เงินน้อย เรายินดีที่จะรับมาร่วมงาน และปลุกปั้นกันไปได้ และมีหลายคนที่อยู่กันยืดยาว ตั้งแต่เรียนจนเรียนจบ ทำงานแล้ว ก็ยังทำด้วยกันตลอดมา และเช่นกัน ก็มีหลายคนที่ระหกระเหินมาจากหลายที่ และมาฝากชีวิต ฝากผีฝากไข้กันไว้กับเรา ชมคำนิยมของนักแปลได้ที่นี่ครับ

ส่วนคำว่า นักอยากแปล ง่ายๆก็คือ ผู้ที่มีคุณสมบัติและทัศนคติ ตรงข้ามกับสิ่งที่ Kingtranslations ต้องการนั่นเองครับ ผมชอบคำที่คุณ หม่ำ ดาวตลกมหาเศรษฐีเคยพูดเอาไว้มากๆเลยว่า "คุณต้องเคารพในวิชาชีพของตัวเอง เคารพในสิ่งที่ทำเงินทำทองให้ตัวเอง คุณถึงจะเจริญก้าวหน้าในสายอาชีพของตัวเองได้" หากนักแปลท่านใด ไม่มีคุณสมบัติเช่นนี้แล้ว ผมขอตัดสินให้เป็นเพียงนักอยากแปลเท่านั้นครับ
แล้วเจอกันในหัวข้อต่อไปว่า การเป็นนักแปลเอกสารที่ดีต้องทำอย่างไรครับ

Credit: ศูนย์รับแปล Kingtranslations

Thursday, August 5, 2010

ความเชื่อโบราณกับการตั้งครรภ์ ตอนที่ 3

ขอบคุณเว็บไซต์ดีๆ เกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ และ พัฒนาการเด็ก bestmomclub.com ค่ะ

คนโบราณมีความเชื่อมากมายเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ บางข้อก็นำมาประยุกต์ใช้ได้ดี แต่บางข้อการแพทย์สมัยใหม่บอกว่า ไม่ถูกต้อง bestmomclub นำความเชื่อเหล่านั้นและบทวิเคราะห์จากคุณหมอ มาให้อ่าน ให้ใช้วิจารณญาณกันอย่างเต็มที่ครับ ขอแบ่งเป็นหลายตอน เพราะมีหลายความเชื่อ

ตอนที่ 3

5. ห้ามกินกล้วยน้ำว้า เพราะจะทำให้คลอดยาก คุณคัทรินทร์ ปิยะวาทวงศ์ นักโภชนาการจากโรงพยาบาลพระรามเกล้าได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “...กล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สาเหตุที่คนโบราณห้ามไม่ให้คนท้องกินนั้นน่าจะมีหลายสาเหตุ อย่างเช่น กลัวเด็กจะตัวโตแล้วคลอดยาก เพราะในสมัยก่อนยังไม่มีการผ่าตัดทำคลอด หากเด็กในท้องอ้วนท้วนสมบูรณ์เกินไปจะเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และลูกได้ค่ะ อีกอย่างนั้นคือ ในกล้วยสุกๆ จะหวานมีแป้งมาก กินสองสามลูกก็จะรู้สึกอิ่มจนไม่อยากกินอย่างอื่น ทำให้ขาดสารอาหารได้ นอกจากนี้ การกินกล้วยห่ามๆ ไม่สุกจะทำให้เกิดอาการท้องผูก อาการท้องผูกนั้นเป็นปัญหาของคนท้องอยู่แล้ว ยิ่งกินกล้วยห่ามๆ เข้าไปจะทำให้มีปัญหาเรื่องท้องผูกมากยิ่งขึ้นค่ะ...”

6. ห้ามกินเนื้อวัว เพราะเชื่อว่าจะทำให้เนื้อตัวทารกที่เกิดใหม่ จะเต็มไปด้วยไขมันล้างออกยาก เกี่ยวกับข้อห้ามข้อนี้ คุณคัทรินทร์กล่าวว่า “...จริงๆ แล้วโภชนาการสมัยใหม่ไม่ได้ห้ามไม่ให้คนท้องกินเนื้อวัวค่ะ แต่ควรระมัดระวังเพราะโดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่ที่กินเนื้อวัวมักจะไม่ชอบกินสันในแต่ชอบกินเนื้อติดมัน ซึ่งจะทำให้อ้วนมีไขมันเยอะค่ะ...”

7. ห้ามกินหอย คนโบราณห้ามคนท้องกินหอยทุกประเภท เพราะมีความเชื่อว่า เวลาคลอดจะมีกลิ่นคาว และคลอดยากเหมือนหอยที่ติดอยู่ในเปลือก คุณคัทรินทร์ได้กรุณาชี้แจงในเรื่องนี้ว่า “โภชนาการคนท้องสมัยนี้ไม่มีข้อห้ามไม่ให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์กินหอยค่ะ เพราะหอยส่วนใหญ่จะให้คุณค่าให้สารไอโอดีนสูงคุณแม่ควรจะกินเพื่อป้องกันการขาดสารไอ โอดีน ยกเว้นแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ในรายที่มีไขมันในเลือดสูง ควรงดกิน โดยเฉพาะหอยนางรมที่มีคอเรสเตอรอลสูงมากค่ะ”

8. ห้ามกินผักที่เป็นเครือเถา คนโบราณในบางท้องที่เช่นทางภาคเหนือจะห้ามไม่ให้คนท้องกินผักที่มีลักษณะเป็นเครือเถ า เช่นผักตำลึง ยอดฟักทอง เป็นต้น คุณคัทรินทร์อธิบายในเรื่องนี้ว่า “น่าจะมาจากการที่คนสมัยก่อน ประสบกับตัวเองเป็นต้นว่า เห็นคนที่กินอาหารประเภทนี้แล้วมีอาการปวดขา ตามหลักโภชนาการแล้วน่าจะมีส่วนค่ะ เพราะในผักยอดอ่อนจะมีสาร purin สูง สารนี้เมื่อทำการย่อยจะกลายเป็นกรดยูริก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเก๊าส์ได้ ส่วนคนที่กินแล้วไม่เกิดอาการใดๆ นั้นควรจะทานผักเยอะๆ เพราะช่วยให้การขับถ่ายง่ายขึ้น”

ขอบคุณ นิตยสารบันทึกคุณแม่ ปีที่ 10 กรกฎาคม 2547
ที่มา http://www.bestmomclub.com

Sunday, August 1, 2010

ความเชื่อโบราณกับการตั้งครรภ์ ตอนที่ 2

ขอบคุณเว็บไซต์ดีๆ เกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ และ พัฒนาการเด็ก bestmomclub.com ค่ะ

คนโบราณมีความเชื่อมากมายเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ บางข้อก็นำมาประยุกต์ใช้ได้ดี แต่บางข้อการแพทย์สมัยใหม่บอกว่า ไม่ถูกต้อง bestmomclub นำความเชื่อเหล่านั้นและบทวิเคราะห์จากคุณหมอ มาให้อ่าน ให้ใช้วิจารณญาณกันอย่างเต็มที่ครับ ขอแบ่งเป็นหลายตอน เพราะมีหลายความเชื่อ

ตอนที่ 2

3. ห้ามไปงานศพ
ร.อ. (หญิง) เพ็ญพร สมศิริ หัวหน้าโครงการเตรียมมารดาเพื่อการคลอด กองสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าได้แนะนำไว้ในหนังสือพิมพ์ “ผู้จัดการรายวัน” (7 มี.ค. 2544) ว่า “...หญิงตั้งท้องในระหว่างรอคลอดอย่าเครียด และแสดงอาการวิตก เพราะจะส่งผลต่อทารกน้อยในครรภ์ ...ควรทำใจให้มีความสุขยิ้มแย้ม เด็กเกิดมาจะได้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง...”

4. ห้ามออกกำลังกาย / ควรออกกำลังกาย
คงเป็นเพราะในระหว่างการตั้งครรภ์คุณแม่ส่วนใหญ่มักมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน ฯลฯ ดังนั้น ในสมัยก่อนบางท้องถิ่นจึงมองว่าการตั้งครรภ์นั้นเหมือนเป็นการเจ็บป่วยชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องการการพักผ่อนห้ามออกแรงในเรื่องนี้ พลเรือตรี นายแพทย์สุริยา ณ นคร รองเจ้ากรมแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้กล่าวไว้ในบทความเรื่อง “หญิงมีครรภ์กับการออกกำลังกายในน้ำ” ดังนี้

“...อย่างไรก็ดีหลักฐานต่างๆ แสดงว่าการออกกำลังกายสม่ำเสมอในระหว่างการตั้งครรภ์ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการออกกำลังกาย ช่วยให้คลอดง่ายและหลังคลอดแล้วร่างกายจะคืนสู่สภาพปกติรวดเร็ว...” อย่างไรก็ตาม ท่านรองเจ้ากรมแพทย์ได้บอกว่า สตรีมีครรภ์ควรออกกำลังกายอย่างระมัดระวัง และพอเหมาะภายใต้คำแนะนำของแพทย์

บทความ จาด นิตยสารบันทึกคุณแม่ ปีที่ 10 กรกฎาคม 2547

ที่มา http://www.bestmomclub.com